เมนู

บุคคลกระทำการแยกสงฆ์ด้วยการชี้แจงด้วยมือ แม้จะตั้งขึ้นแต่กายทวาร ก็
ชื่อว่ายังวจีทวารนั่นแหละให้เต็ม. พึงทราบวินิจฉัยในข้อนี้แม้ว่าโดยทวาร ด้วย
ประการฉะนี้.

วินิจฉัย ว่าโดยการตั้งอยู่ตลอดกัป


คำว่า ว่าโดยการตั้งอยู่ตลอดกัป ก็ในอนันตริยกรรมทั้ง 5 เหล่านี้
สังฆเภทเท่านั้นเป็นกรรมตั้งอยู่ตลอดกัป. จริงอยู่ ครั้นเมื่อกัปกำลังเป็นไป
(ต้นกัป) หรือท่ามกลางแห่งกัปกำลังเป็นไป ผู้ทำสังฆเภทย่อมพ้นจากการให้
ผลของกรรมในเมื่อกัปนั้นพินาศไปทีเดียว. แม้ว่า กัปจักพินาศไปในวันพรุ่งนี้
ไซร้ บุคคลทำสังฆเภทในวันนี้เขาก็จักพ้นจากอบายในวันพรุ่งนี้แน่นอน. คือ
เขาย่อมถูกไหม้ในนรกสิ้นวันหนึ่งเท่านั้น. แต่ว่า การทำกรรมดังกล่าวมานี้หา
มีไม่. อนันตริยกรรม 4 ที่เหลือ เป็นอนันตริยกรรมเหมือนกัน แต่ไม่ตั้งอยู่
ตลอดกัป พึงทราบวินิจฉัยในอนันตริยกรรมนี้ แม้ว่าโดยการตั้งอยู่ตลอดกัป
ดังพรรณนามาฉะนี้.

วินิจฉัย ว่าโดยปากะ คือ ผลของกรรม


คำว่า ว่าโดยปากะ ก็อนันตริยกรรม อันบุคคลใดทำแล้วทั้ง 5 อย่าง
สังฆเภทเท่านั้นย่อมให้ผลแก่เขา กรรมที่เหลือ ย่อมถึงการนับว่า เป็นอโหสิ-
กรรม คือ กรรมนั้นมิได้ให้ผล. เมื่อไม่ทำสังฆเภท โลหิตุปบาทย่อมให้ผลด้วย
สามารถนำปฏิสนธิ. เพราะความไม่มีแห่งกรรมทั้งสองที่กล่าวแล้ว อรหันตฆาต
ย่อมให้ผล. ถ้าอรหันตฆาตไม่มี บิดาเป็นผู้มีศีล มารดาเป็นผู้ทุศีล หรือมี
ศีลต่ำกว่าบิดา ปิตุฆาตย่อมให้ผล ด้วยสามารถนำปฏิสนธิ. ถ้ามารดามีศีลสูง

กว่า มาตุฆาตย่อมให้ผล. ถ้ามารดาและบิดามีศีลหรือไม่มีศีลเสมอกัน มาตุฆาต
เท่านั้น ย่อมให้ผล ด้วยสามารถแห่งการนำปฏิสนธิ เพราะมารดาเป็นผู้กระทำ
สิ่งที่ทำได้โดยยาก และเพราะมีอุปการะมากแก่บุตร. พึงทราบวินิจฉัยในข้อนี้
แม้ว่าโดยการให้ผล ด้วยประการฉะนี้.

วินิจฉัย ว่าโดยสาธารณะเป็นต้น


คำว่า ว่าโดยสาธารณะ เป็นต้น อนันตริยกรรม 4 (เว้นสังฆเภท)
มีในก่อน ทั่วไปแก่คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลาย. ส่วนสังฆเภท ย่อมเป็น
อนันตริยกรรมแก่ภิกษุ มีประการตามที่กล่าวแล้ว ย่อมไม่เป็นอนันตริยกรรม
แก่บุคคลอื่น เพราะพระบาลีว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุณี ย่อมทำลายสงฆ์ไม่ได้
สิกขมานา . . .สามเณร . . .อุบาสกและอุบาสิกา ย่อมทำลายสงฆ์ให้แตกจากกัน
ไม่ได้ ดูก่อนอุบาลี ภิกษุแลผู้มีสังวาสเสมอกันเป็นปกตัตตะ (เป็นปกติ) ตั้ง
อยู่ในสีมาเสมอกัน ย่อมทำลายสงฆ์ ดังนี้ เพราะฉะนั้น สังฆเภทนี้ จึงไม่
ทั่วไปแก่บุคคลอื่น. อนันตริยกรรมเหล่านี้ แม้ทั้งหมดสหรคตด้วยทุกขเวทนา
สัมปยุตด้วยโทสะและโมหะ ท่านกล่าวสงเคราะห์ไว้ด้วยอาทิศัพท์ ฉะนี้แล
พึงทราบวินิจฉัยในข้อนี้แม้ว่าโดยสาธารณะเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้.
คำว่า อญฺญํ สตฺถารํ (แปลว่า ศาสดาอื่น) อธิบายว่า พระโสดาบัน
จะพึงยึดถือเจ้าลัทธิอื่นอย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นศาสดาของเรา เราสามารถเพื่อทำกิจ
ของศาสดาได้ ดังนี้ แม้ในระหว่างภพจะพึงยึดถือว่า ผู้นี้เป็นศาสดาของเรา
ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้.
คำว่า อฏฺฐมํ ภวํ นิพฺพตฺเตยฺย (แปลว่า พึงเกิดในภพที่ 8)
อธิบายว่า พระโสดาบัน แม้มีปัญญาน้อยกว่าพระอริยบุคคลทั้งหมด ก้าวล่วง